[Mp3] 📀พุทธวิธีให้มีความจำดี อย่างวิเศษ : หลักพัฒนาจิต-สมอง 6 ขั้น (เพื่อความฉลาดรู้ทางโลก&ธรรม ส่งผลดีถึงชาติหน้า) 🔴 อ.พร รัตนสุวรรณ : อริยคุณ ชมรมผลดี (โจโฉ-อ่าน)

ชมรมผลดี Official (โจโฉ เสียงธรรม) - Ein Podcast von โจโฉ เสียงธรรม

Kategorien:

(เวอร์ชั่น mp3) พุทธวิธีให้มีความจำดี อย่างวิเศษ"ทำอย่างไรจึงจะมีความจำดี ?" เขียนโดย อ.พร รัตนสุวรรณ : อ่านโดย.. อริยคุณ ชมรมผลดี : จัดทำเพื่อเป็นธรรมทานโดย.. "ธานีนุกูล คณิตวิชากุล" ( เนื่องจากระบบใหม่บังคับอัปโหลดไฟล์เดียว ฟังแยกหัวข้อได้ที่นี่นะครับ ⁠https://youtu.be/HmTUxqLHqxA⁠ ) การสร้างความจำดีชนิดเหนือธรรมดาให้ผลดีถึงชาติหน้า ทั้งเรียนรู้เข้าใจง่าย ฉลาด ส่งเสริมสติ ไม่หลงตาย จนถึงระลึกชาติได้ง่าย ฯลฯ และวิธีแบบพุทธจะฉลาดแท้ ที่พ่วงมาด้วยคุณธรรมและกุศลจิต ไม่ใช่แค่จำดีอย่างเดียว จึงเจริญได้ง่ายทั้งทางโลกและทางธรรม ประสิทธิภาพของความจำ ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งทางโลกและทางธรรม แต่น้อยคนจะรู้และเข้าใจกระบวนการให้เกิดความจำดีหรือไม่ดี ว่ามีหลักสำคัญที่เกี่ยวเนื่องในด้านจิตอย่างไร โดยเฉพาะในแง่จากคำสอนทางพุทธศาสนา คือเจตสิก สิ่งที่เกิดและดับพร้อมกับจิตทุกขณะ ๗ อย่าง ที่อธิบายกระบวนการแห่งจิตกับความจำได้ดีที่สุด หากเข้าใจหลักสำคัญ ที่เป็นสัจธรรมแห่งจิตได้ถูกต้องครบถ้วน จะทำให้ได้หลักในการเสริมสร้างความจำให้ดีขึ้น จนถึงขั้นพัฒนาสมองให้เป็นดังเครื่องบันทึกที่เรียกค้นข้อมูลมาใช้งานได้อย่างถูกต้องแม้เพียงได้อ่านหรือฟังแค่ครั้งเดียว การเรียนทั้งวิชาทางโลกหรือทางธรรม ก็เสียเวลาน้อยลง ไม่น่าเบื่อ เกิดฉันทะในการศึกษาวิชาที่คนอื่นมองว่ายากได้ง่ายขึ้น ภาวะที่จิตไม่เครียด มีความสุขกับการศึกษา ทำให้จิตเป็นกุศล เกิดสมาธิ ตรงกับหลักที่ว่า ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ ซึ่งเป็นภาวะที่จิตพร้อมจะเข้าใจอะไรได้ง่ายและลึกซึ้ง ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำได้ เมื่อรอบรู้เข้าใจอะไรง่าย จำได้แม่น ไม่สับสนในข้อมูล ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมก็ย่อมเจริญตามไปด้วยโดยง่ายเช่นกัน เนื้อหาช่วงต้นจะเป็นการอธิบายพื้นฐานที่จำเป็นต้องเข้าใจก่อน คือเรื่องเจตสิก ๗ อย่าง ซึ่งเป็นวิชาการขั้นสูงของพุทธ เป็นสัจธรรมคือความจริงในขั้นปรมัตถ์ ที่ผู้เริ่มศึกษาธรรมมักจะมองว่ายากและไม่พยายามศึกษา หรือแค่เจอคำศัพท์ก็พลอยอยากให้ถอดใจไปเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจำนวนมากจึงเสียโอกาสในการเข้าถึงธรรมแท้ ที่มีการอธิบายในเชิงวิชาการแบบวิทยาศาสตร์ แต่พากันติดอยู่แค่คำสอนในขั้นพื้นฐาน ที่อาจเป็นเพียงการเปรียบเทียบ หรือใช้คำอธิบายให้เหมาะแก่จริตของบางคน ให้สอดคล้องกับความเชื่อในยุคสมัยนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงทำให้หลายคนเข้าใจและมองศาสนาผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อใดก็ตามที่เจอธรรมที่รู้สึกว่ายาก หรือเป็นวิชาการเชิงลึก ควรอดทนฟังให้จบก่อนด้วยใจที่สบาย ตรงไหนไม่เข้าใจให้ข้ามไปก่อน ฟังผ่าน ๆ ให้จบ เพื่อจับภาพรวม อย่าพยายามเข้าใจให้ได้ทันทีในครั้งแรก จิตที่กดดันตัวเองจะทำให้ยิ่งเข้าใจอะไรได้ยากขึ้น เมื่อกลับมาฟังซ้ำเป็นครั้งที่สองจะเข้าใจได้ดีขึ้น หากยังไม่เข้าใจจุดไหน ให้ฟังซ้ำเฉพาะจุดนั้นบ่อย ๆ หรือหาข้อมูลมาอ่านเสริม ที่ปัจจุบันหาได้ง่ายมากผ่านเน็ต จนเมื่อเข้าใจเบื้องต้นระดับหนึ่ง ก็ค่อยมาฟังทวนทั้งหมดอีกครั้ง ด้วยใจที่สบาย และฟังซ้ำเรื่อย ๆ เมื่อมีโอกาส จนกว่าจะเข้าใจ การฟังธรรมบางเรื่อง อาจต้องรอเวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจ เพราะต้องมีภูมิธรรมและบารมีด้านอื่นที่พร้อมพอด้วย สิ่งที่ทุกคนพิสูจน์ได้ชัดด้วยตนเองคือ เมื่อเวลาผ่านไปอาจหลายเดือน หรือหลายปี แล้วกลับมาฟังอีกรอบ จะพบว่าในอดีตที่เคยคิดว่าเข้าใจแล้ว เป็นความเข้าใจผิด หรือยังเข้าใจได้ไม่ดี ไม่ลึกซึ้ง ยังเข้าไม่ถึงความหมายแฝงอีกมากเท่ากับในปัจจุบัน การฟังธรรมนั้นต่อให้ฟังแล้วไม่เข้าใจ แต่จะเกิดเป็นวิบากสะสมไว้ในจิตส่วนลึก เป็นคลังข้อมูลที่รอให้ดึงมาพิจารณาได้ในโอกาสต่อไป แม้ในชาติหน้า เกิดใหม่ก็สนใจธรรมและมีความเพียรในการฟังธรรม เข้าหาทางแห่งกุศลได้ง่ายขึ้น อ.พร รัตนสุวรรณ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย ท่านเชี่ยวชาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ เป็นผู้แปลชำระพระไตรปิฎกอรรถกถา-ฎีกา ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ & ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการอบรมสมาธิวิปัสสนาให้แก่พระนิสิตของมหาจุฬาฯ มาจนถึงปัจจุบัน ดูกิจกรรมบุญ&ร่วมจัดทำได้ที่ ⁠⁠https://www.facebook.com/jz.net⁠⁠